เทศบาลตำบลหลักเขต
หมู่ 10 ตำบลหลักเขต อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
เบอร์โทรศัพท์ สำนักปลัด 044-110084 กองช่าง 044-110085 กองคลัง 044-110086
หน้าแรก
คณะผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ภาพกิจกรรม
เว็บบอร์ด
สมุดเยี่ยม
ติดต่อเรา
ผู้บริหาร
นายพนม คิดชนะ
นายกเทศมนตรีตำบลหลักเขต
สารบัญเว็บไซต์
ประวัติความเป็นมา
ปฏิทินกิจกรรม
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
โครงสร้างพื้นฐาน
ด้านสังคม
ด้านเศรษฐกิจ
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
คู่มือการชำระภาษี
คู่มือประชาชน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
คำสั่ง ต่างๆ
แผนบริหารความต่อเนื่อง
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส(ITA)
งานบริหารฝ่ายบุคคล
โครงสร้างเทศบาล
โครงสร้างส่วนราชการ
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
เว็บบอร์ดเทศบาล/ร้องเรียน/ร้องทุกข์
สายด่วน ผู้บริหาร
มาตรการประหยัดพลังงาน
แผนที่เทศบาลตำบลหลักเขต
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล
ผู้บริหารหัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสวัสดิการสังคม
ข้อมูลการดำเนินงาน
คำแถลงนโยบาย การบริหารจัดการราชการท้องถิ่นเทศบาลตำบลหลักเขต
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนพัฒนาสี่ปี
แผนการดำเนินงาน
แผนอัตรากำลัง
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการจัดหาพัสดุ
แผนการตรวจสอบประจำปี (Audit Plan) ประจำปีงบประมราณ พ.ศ. ๒๕๖๔
เทศบัญญัติงบประมาณ
สรุปผลดำเนินการจัดซื้อ/จัดจา้ง
รายรับ-รายจ่าย ประจำปี
รายงานการคลัง
รายงานการประชุมสภาเทศบาลตำบลหลักเขต
รายงานการติดตามผลและประเมินผลแผนพัฒนา
สถิติผู้เยี่ยมชม
เปิดเว็บไซต์
14/11/2013
ปรับปรุง
10/08/2022
สถิติผู้เข้าชม
398864
Page Views
640956
อำนาจหน้าที่
กฎหมายและระเบียบ
พระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา
กฎ ระเบียบ และประกาศกระทรวง
เทศบัญญัติ และคำสั่งเทศบาล
งานกิจการสภา
พรบ./ระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานกิจการสภา
ประกาศ/ประชาสัมพันธ์งานกิจการสภา
รายงานการประชุมสภาเทศบาลตำบลหลักเขต
เทศบาลตำบลหลักเขต
เทศบาลตำบลหลักเขต
หน้าที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลหลักเขต
เทศบาลตำบลหลักเขต มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีโครงสร้างในการบริหารงานองค์การเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่13 พ.ศ. 2552)ประกอบด้วย สภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี
1. สภาเทศบาล สภาเทศบาลตำบลหลักเขต ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งในเขตพื้นที่เขตเทศบาลตำบลหลักเขต แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต โดยกำหนดให้แต่ละเขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาเทศบาลได้จำนวน 6 คน ดังนั้น สภาเทศบาลตำบลหลักเขต จึงประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12 คน มีวาระ 4ปี บทบาทหน้าที่หลักของสภาเทศบาล คือ การพิจารณาเทศบัญญัติตำบล การตรวจสอบควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหารให้ความเห็นชอบเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย แต่งตั้งคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญประจำสภา นอกจากนี้สมาชิกสภาเทศบาลมีหน้าที่ในการเลือกประธานสภา และรองประธานสภา เพื่อทำหน้าที่เปิดสภา และดำเนินการในการประชุมสภา หลังจากสมาชิกสภาเทศบาลเลือกตั้งประธานสภาและรองประธานสภา แล้วส่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่งแต่งตั้งวาระของประธานสภา และรองประธานสภา มีอายุเท่ากับสภาเทศบาล หรือมีการยุบสภา
2. นายกเทศมนตรี ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีนั้น มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ทำหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาล และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างมีหน้าที่กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดในการบริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมายร่างระเบียบเพื่อให้งานเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน และอาจแต่งตั้งที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรีรวมกันได้ไม่เกิน2คน
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
สามารถแบ่งแยกประเภทอำนาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาล หรืออาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาลทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล กำหนดไว้ในมาตรา 50 เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
(9) หน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
2. อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล กำหนดไว้ในมาตรา 51 เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ดังนี้
(1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(6) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(7) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(9) เทศพาณิชย์
นอกจากนี้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 มาตรา 16 ยังกำหนดให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองอีกด้วย
การบริหารการเงิน
– การคลัง
การบริหารรายรับ
รายได้ของเทศบาล กำหนดตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552) และพระราชบัญญัติรายได้ของเทศบาล พ.ศ. 2497 ดังนี้
1) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552) เทศบาลอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
1.1 ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
1.2 ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
1.3 รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
1.4 รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์
1.5 พันธบัตร หรือเงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
1.6 เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์กร หรือนิติบุคคลต่างๆ
1.7 เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.8 เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
1.9 รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
2) ตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 มาตรา 4 – 8, มาตรา 10 – 13 และมาตรา 15 กำหนดรายได้เทศบาล ดังนี้
2.1 ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
2.2 อากรการฆ่าสัตว์
2.3 ค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม และค่าปรับ
2.4 ภาษีป้าย
2.5 ภาษีบำรุงท้องที่
2.6 ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
2.7 ภาษีบำรุงเทศบาลจากอากรข้าวและภาษีการซื้อโภคภัณฑ์จากน้ำมันเบนซิน
2.8 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
2.9 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.10 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา
2.11 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการเล่นการพนัน
2.12 เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
การบริหารรายจ่าย
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552) มาตรา 67 เทศบาลอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
1.เงินเดือน
2. ค่าจ้าง
3.เงินตอบแทนอื่นๆ
4.ค่าใช้สอย
5.ค่าวัสดุ
6.ค่าครุภัณฑ์
7.ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ
8.เงินอุดหนุน
9.รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร
เทศบาลตำบลหลักเขตได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหลักเขตได้มีส่วนร่วมโดยเฉพาะในด้านของการบริหาร พัฒนาชุมชนของตนเอง และมีบทบาทในการพัฒนาป้องกันแก้ไขปัญหาทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของเทศบาล รวมตลอดถึงความสอดคล้องกับวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอันจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนกับเทศบาลตำบลหลักเขต ในการจัดบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ และส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยการเข้าร่วมประชุมต่างๆ การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการตรวจสอบงานโครงการก่อสร้างในเขตพื้นที่และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการของเทศบาลตำบลหลักเขต
นอกจากนั้นแล้วยังส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในชุมชน และให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเลือกตั้งในทุกๆ ระดับ โดยเฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด
การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน และสวัสดิการของประชาชน
การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เป็นงานที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องการความร่วมมือในการปฏิบัติจากทุกฝ่าย และต้องการองค์กรรับผิดชอบต่อระบบงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนอำนวยการและกำกับดูแลการปฏิบัติทั้งทางด้านกฎหมาย และด้านการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การป้องกันและบรรเทาความเสียหาย และการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากภัยพิบัติ โดยได้จัดตั้งศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลตำบลหลักเขต โดยมีนายกเทศมนตรีตำบลหลักเขต เป็นผู้อำนวยการของศูนย์ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเขตเทศบาลตำบลหลักเขตและพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ การป้องกันและระงับอัคคีภัย การบรรเทาสาธารณภัย การป้องกันและบรรเทาภัยจากปัญหาภัยแล้ง